Search
Enter Keywords:
ศุกร์, 26 เมษายน 2024
Home arrow Articles arrow Fire & Life Safety arrow ความรู้เกี่ยวกับการดับเพลิงในอาคารสูง
ความรู้เกี่ยวกับการดับเพลิงในอาคารสูง
Image
ในขณะที่เพลิงไหม้ภายในอาคารความสูญเสียอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะที่ เกิดเพลิงไหม้นั้นมีสาเหตุอยู่ 2 ประการใหญ่ๆ คือ

1. อันตรายที่เกิดจากความร้อนหรือเปลวไฟ
2. อันตรายที่เกิดจากควันไฟและไอแก๊สพิษ
ซึ่งจะเป็นอันตรายที่มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกัน
สิ่งสำคัญซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพราะไอพิษและควันไฟเป็นจำนว นมากและบางครั้งก็สามารถทำอันตรายถึงชีวิตได้ไม่ว่าจะอยู่ใกล้ไกลจากจุดเกิด เพลิงไหม้เพียงใดก็ตาม เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นส่วนมากถึงจะเป็นไฟที่มีขนาดเล็ก แต่จำนวนปริมาณควันและไอแก๊สที่มีเป็นจำนวนมหาศาลซึ่งจะทำให้การมองเห็นลดน้ อยลงรวมทั้งจะเป็นอันตรายกับดวงตาและระบบการหายใจ จึงทำให้การหาทางออกในขณะที่ทำการหนีไฟนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่เป็นบุคคลภายนอกหรือผู้มาเยี่ยมเยือนไม่คุ้นเค ยกับสถานที่นั้นๆ ฉะนั้นในการออกแบบแผนก่อสร้างของสถาปนิกก็ต้องคำนึงถึงความยากง่ายในการอพยพ หนีภัยในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้หรือเหตุฉุกเฉินต่างๆ ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับสำนักงานใหญ่ๆที่มีห้องทำงานหลากหลายไม่ว่าห้องเก ็บของต่างซึ่งอาจรวมทั้งห้องประชุมก็มากมาย บางครั้งในยามปกติธรรมดาแขกผู้มาเยือนก็ยังมีการสับสนได้ในบางคราวด้วยซ้ำไป ในการที่จะหาทางเข้าออกจากสำนักงานนั้น

ฉะนั้นป้ายชี้แสดงเส้นทางการอพยพหนีภัยในกรณีฉุกเฉินที่ติดตั้งไว้แน่ชัดและถูกต้องก็จะทำให้เกิดความปลอดภัยกับชีวิตมากขึ้นเท่านั้น

ความสูงของตึกอาคารสำนักงานก็เป็นส่วนประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งเพราะใน ปัจจุบันอาคารที่ก่อสร้างมานั้นมีความสูงมากเกินกว่ารถกระเช้าของหน่วยดับเพ ลิงซึ่งอาจจะมีความสามารถเข้าทำการดับเพลิงหรือช่วยเหลือผู้คนที่อยู่ในอาคา รนั้นๆได้เพียงอาคารชั้นที่7-8 เท่านั้น การออกแบบก่อสร้างที่ดีและถูกต้องจึงมีผลอย่างมากในการที่จะช่วยลดอันตรายแล ะความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดเพลิงไหม้

รูปแบบของอาคารกับอุปสรรคในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง
ตามขั้นตอนที่ถูกต้องและแนะนำให้ปฏิบัติซึ่งปกติจะไม่ค่อยมีผู้ปฏิบัติไ ม่ว่าจะติดขัดเรื่องเวลาที่คิดว่าจะต้องเสียไปหรืองบประมาณค่าใช้จ่ายที่อาจ จะเกิดข ึ้น เมื่อทางสถาปนิกผู้ออกแบบ หรือเจ้าของผู้ลงทุนก่อสร้างอาคารสำนักงานนั้นๆ คิดว่าเมื่อปฏิบัติตามกฎหมายเท่าที่มีอยู่ในแต่ละเมืองแต่ละประเทศก็คิดว่าพ อเพียงแล้วโดยอาจจะลืมคิดถึงไปว่าความถูกต้องในเชิงปฏิบัติตามสากลนิยมเขาคว รจะปฏิบัติให้ถูกต้องและดีที่สุดอย่างไร

ในขณะที่เกิดเพลิงไหม้ขึ้นนั้น ขั้นตอนในการปฏิบัติของหน่วยดับเพลิงคือ การอพยพช่วยเหลือผู้คนการควบคุมเพลิงและดับเพลิงจนถึงการควบคุมไม่ให้เพลิงท ี่ดับไปแล้วลุกไหม้ขึ้นมาอีกหรือทำความเสียหายตามมาหลังจากเพลิงสงบไปแล้วก็ ตาม เช่นอาคารที่เกิดชำรุดเสียหายจากเพลิงไหม้พังทลายลงมาเป็นอันตรายกับบุคคลที ่เกี่ยวข้อง ฉะนั้นอาคารที่พักสำนักงานยิ่งมีความสูงหรือขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าไรก็จะต้องใ ช้เจ้าหน้าที่ดับเพลิง และกู้ภัยมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งในบางกรณีจะต้องทำการดับเพลิงและช่วยชีวิตผู้ท ี่อาจติดอยู่ภายในอาคารไปพร้อมๆ กัน  เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว ทางสำหรับเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และกู้ภัยที่จะเข้าออกสู่อาคารที่เกิดเหตุนั้นๆ พร้อมอุปกรณ์ซึ่งเราจะกล่าวเฉพาะตัวอาคารเท่านั้นจะไม่รวมถึงถนนที่จะเข้าสู ่อาคารนั้นๆ ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความต่อๆ ไป

เจ้าหน้าที่ดับเพลิงอาจจะพบกับอุปสรรคหลายๆ อย่างในการที่เข้าทำการดับเพลิงไม่ว่าจะเป็นตึกที่มีขนาดใหญ่มีหลายชั้นเพรา ะเป็นอาคารสูง กรอบประตู กำแพงผนังกั้นห้องต่างๆ ซึ่งจะเป็นตัวกั้นไม่ให้ควันและความร้อนแผ่ระบายออกสู่ภายนอกหรือห้องอื่นๆ ควันไฟ เมื่อสะสมมากขึ้นก็จะทำให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงไม่สามารถมองเห็นจนทำให้การช่ วยเหลือผู้คนที่ติดอยู่รวมทั้งการดับเพลิงไม่ประสบความสำเร็จ ตึกที่ไม่มีหน้าต่าง หรือพื้นที่อับเช่นห้องใต้ดินก็จะสร้างปัญหาเป็นอย่างมากในการดับเพลิง สาเหตุเพราะควันไฟและความร้อนจะสะสมอยู่ภายในไม่สามารถจะระบายออกสู่ภายนอก ฉะนั้นการออกแบบวางแปลนห้อง ช่องทางเข้าออกต่างๆ ของตัวอาคารหากมีจำนวนไม่เพียงพอ ในการที่จะเข้าทำการดับเพลิงก็ควรให้มีการเพิ่มเติมแก้ไข ให้มีระบบป้องกันดับเพลิงต่างๆ เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบหัวฉีดน้ำเป็นฝอยแบบอัตโนมัติ (Automaticsprinkler system) เพิ่มเติมความทนทานไฟของผนังกำแพงกั้นห้องให้ยาวนานขึ้น จัดให้มีหัวฉีดพร้อมสายต่อเข้ากับระบบน้ำดับเพลิงของอาคารเองและจากดับเพลิง จากภายนอก นอกเหนือจากนี้อาจจะมีระบบระบายควันอัตโนมัติ แต่ระบบหัวฉีดน้ำเป็นฝอยแบบอัตโนมัติจะเป็นระบบที่ดีที่สุดไม่ว่าจะเป็นการป ้องกันแบบใดก็ตาม การระบายอากาศ และ ควันไฟ การระบายควันและอากาศพิษจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการควบคุมเพลิง เพราะจะแสดงถึงความสามารถและประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงว่าประสบความ สำเร็จหรือล้มเหลวในการดับเพลิง อันมีต้นเหตุมาจาก การระบายควันไฟไอพิษและความร้อนออกจากอาคาร

ปริมาณน้ำและการดับเพลิงด้วยน้ำ
น้ำยังคงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ใช้ในการดับเพลิงที่เกิดขึ้นกับอาคาร นอกเหนือจากระบบอื่นๆ ที่อาจจะนำมาติดตั้งเช่นระบบดับเพลิงด้วยก๊าซเฉื่อย (คาร์บอนไดออกไซด์, ฮาลอน) หรือชนิดผงเคมีแห้ง ฉะนั้นปริมาณน้ำและแรงดันน้ำที่ใช้ในการดับเพลิงจะต้องมีอย่าง เพียงพอไม่ว่าจะเป็นการเดินท่อจากรถดับเพลิงของหน่วยท้องถิ่น หรือมีถังเก็บบรรจุน้ำระบบปั้มน้ำของตัวอาคารเองก็ตาม ก็ควรจะ ต้องคำนึงถึงขนาด ปริมาณ และแรงดันของน้ำในท่อดับเพลิงว่าเพียงพอหรือไม่ โดยเฉพาะอาคารที่มีความสูงมาก ๆ หรือกว้างใหญ่มากด้วย ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้เป็นพื้นที่กว้างและจะต้องใช้น้ำในการดับเพลิงด้วยระ บบหัวฉีดน้ำแบบเป็นฝอย (Sprinkler) หรือด้วยหัวฉีดน้ำก็ตาม ปริมาณและแรงดันของน้ำภายในท่อจะลดลงด้วย หากมีการใช้น้ำจำนวนที่มาก ฉะนั้นจุดรับน้ำให้กับข้อต่อพิเศษสำหรับต่อให้กับตัวอาคารนั้นจะต้องอยู่ในจ ุดที่สามารถมองเห็นได้ง่ายสามารถปฏิบัติงานเข้าออกและต่อท่อเข้ากับท่อดับเพ ลิงของอาคารได้สะดวกและรวดเร็ว


การระบายน้ำที่ใช้แล้วจากการดับเพลิง
ปริมาณน้ำที่เกิดจากการดับเพลิงจะมีผลกระทบต่อการปฎิบัติการขั้นสุดท้ายที่จะหาจุดที่อาจจะยังคงติดไฟอยู่ หรือขั้นตอนสอบสวนหาสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ และสำรวจความเสียหายหลังจากเกิดเพลิงไหม้ หน่วยดับเพลิงจะต้องหาจุดและท่อที่จะสามารถระบายน้ำที่เกิดจากการดับเพลิงออกจากอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว ซึ่งอาจจะเป็นผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน หากเกิดภาวะรับน้ำหนักไม่ไหว ผลกระทบและอุปสรรคที่เกิดจากแบบของอาคารต่อการดับเพลิง


การออกแบบและวางแบบของอาคารโดยสถาปนิก

จะเป็นผลกระทบโดยตรงและสำคัญอย่างมากในการดับเพลิงไม่เพียงแต่เป็นการยากง่ายในการปฏิบัติการเข้าออก จะเป็นตัวกำหนดขอบเขตความสามารถในการที่จะควบคุมเพลิงจะลดลงเมื่อไฟได้ลุกลามไปในแนวดิ่ง คือลามขึ้นชั้นต่อๆ ไป เพราะในบางครั้งสาเหตุเนื่องจากการออกแบบ และวัสดุที่ใช้ เป็นฝ้า ผนังกำแพงกั้น ช่องระบายเครื่องปรับอากาศด้วยส่วนประกอบดังกล่าวมานั้นจะเป็นตัวทำให้ไฟสามารถลุกลามในแนวดิ่งไปยังชั้นต่อๆ ไปได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

ระบบป้องกันการแจ้งเตือนและการติดต่อสื่อสาร
เวลาคือกุญแจสำคํญจะเป็นทั้งตัวกำหนดอัตราการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินหากสา มารถดับเพลิงได้เร็วเพียงใดความสูญเสียก็จะลดลงเท่านั้นฉะนั้นหากเราสามารถจ ะรู้ว่าเกิดเพลิงไหม้เร็วเท่าใดจากตัวรับสัญญาณที่ติดตั้งก็จะทำงานเมื่อได้ รับความร้อนหรือควันไฟเมื่อได้ยินสัญญาณเตือนดังขึ้นแล้วก็จะอยู่กับการปฏิบ ัติตามขึ้นตอนการดับเพลิงและควบคุมเพลิงอย่างถูกต้องซึ่งในขั้นตอนนั้นๆจะปร ะกอบไปด้วยการแจ้งสัญญาณฉุกเฉินการติดต่อสื่อสารประสานงานและการดับเพลิงมัน เป็นการไม่ง่ายนักที่จะตัดสินชี้ชัดไปว่าเมื่อเราแจ้งสัญญาณฉุกเฉินเตือนไปย ังผู้ที่เกี่ยวข้องทราบการอพยพหนีภัยออกจากตึกก็คงเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นส ำหรับตึกอาคารขนาดเล็ก แต่หากว่าในกรณีที่เป็นตึกหรืออาคารสูงนั้นจะต้องประสบกับปัญหายุ่งยากมากมา ยไม่ว่าจะเป็นผู้คนที่เกี่ยวข้องเวลาที่ใช้จะเป็นเวลาที่ยาวนานมาก ควรจะมีพื้นที่ที่เป็นที่ปลอดภัยสำหรับหลบภัยภายในตัวอาคารสูงเองและขั้นตอน การปฏิบัติจะต้องถูกจำแนกออกเป็นกรณีๆ ไปแล้วแต่สถานะการณ์ที่อาจจะถูกสมมุติขึ้น เพื่อทดสอบขั้นตอนการอพยพที่ถูกต้อง ส่วนการติดต่อสื่อสารนั้นจะเป็นตัวช่วยทำให้การดับเพลิงมีประสิทธิภาพเพิ่มม ากขึ้นและเป็นการเตือนแนะนำผู้เกี่ยวข้องให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามวัตถุประ สงค์รวมทั้งเป็นการติดต่อกับหน่วยดับเพลิงจากภายนอกเพื่อเข้ามาช่วยเหลือเป็ นต้นบางครั้งผู้คนที่อยู่ในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้เข้าใจผิดไปว่าเมื่อมีผู้ ใดกดสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้แล้วจะเป็นการแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้รับทรา บในทันทีซึ่งในความเป็นจริงส่วนมากจะไม่ได้เป็นอย่างนั้น


ฉะนั้นจึงควรจำไว้ว่าการแจ้งเหตุฉุกเฉินจะใช้เวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้นเพื่อ แลกกับเวลาที่อาจจะ เสียไปเป็นเวลาหลายสิบนาทีกว่าที่หน่วยดับเพลิงจะมาถึงในขณะที่เกิดเพลิงไหม ้นั้นจะต้องทำความควบคุมเพลิงให้อยู่ในพื้นที่จำกัดและปล่อยให้เพลิงไหม้จนก ว่าจะไหม้วัสดุที่สามารถติดไฟจนหมดไปหรือโดยการควบคุมการแผ่ลุกลามขยายของเพ ลิงไหม้เพื่อถ่วงเวลาให้การอพยพผู้คนออกจากพื้นที่อันตรายจนหมดเสียก่อน

การควบคุมทางตรงตั้งแต่การออกแบบก่อสร้าง โดยวิธีใช้วัสดุทนไฟ เช่น กำแพงห้อง ฝ้าเพดานต่าง ๆ ระยะเวลาที่กำหนดเป็นมาตรฐานว่าสามารถคงทนได้นานอย่างน้อยเท่าไรก็อยู่กับว่ าเป็นส่วนไหนของอาคารมีความสำคัญอย่างไรบ้างหากเป็นพื้นที่ๆ มีผู้คนอยู่เป็นจำนวนมากก็จะต้องใช้วัสดุที่ทนความร้อนได้นานนานพอที่จะทำกา รเคลื่อนย้ายคนและมีเวลาพอที่หน่วยดับเพลิงจะสามารถเข้ามากู้สถานการณ์ให้ดี ขึ้น

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความที่เขียนมาแล้วข้างต้นจะช่วยมีส่วนให้ผู้รับผิดชอบ ตั้งแต่การออกแบบการควบคุมการก่อสร้าง เจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ ได้พิจารณาเตรียมการล่วงหน้า ก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น เพราะเมื่อถึงวันนั้นเวลานั้นมันอาจจะสายเกินกว่าที่เราจะทำการแก้ไขใดๆ ได้ ขอให้ตั้งใจ ใส่ใจ ในการดำเนินงานและเตรียมการรับสถานการณ์ ขอให้โชคดีและปลอดภัย ครับ



ที่มา www.thaifire.com (สถาบันฝึกดับเพลิงและกู้ภัยชั้นสูง)
โดย คุณชาติชาย ไทยกล้า

?>