Search
Enter Keywords:
เสาร์, 27 เมษายน 2024
Home arrow Articles arrow Energy Conservation arrow การออกแบบอาคารเพื่อการใช้งานแสงสว่างธรรมชาติ
การออกแบบอาคารเพื่อการใช้งานแสงสว่างธรรมชาติ
Image
ค่าความส่องสว่างของแสงสว่างธรรมชาติที่ได้จากรังสีกระจายบนพื้นผิวระนาบภาย นอกอาคารในช่วงเวลากลางวันจะมีค่าอยู่ระหว่าง 10,000 – 20,000 ลักซ์ (lux) และสำหรับรังสีอาทิตย์โดยตรง จะมีค่าสูงขึ้นถึง 100,000 ลักซ์ (lux = lumen/m2)  โดยปรกติแล้ว แสงสว่างที่ต้องการภายในอาคารจะมีค่าประมาณ 300 – 500 ลักซ์
 ซึ่งคิดเป็น 0.5 – 3%  ของค่าความสว่างของรังสีกระจายภายนอกอาคารเท่านั้น หากอาคารมีการออกแบบอุปกรณ์ป้องกันแสงแดดหรือรังสีอาทิตย์โดยตรง และรับเฉพาะรังสีกระจาย ซึ่งมีค่าความส่องสว่างที่ภายนอกอาคารเท่ากับ 10,000 – 20,000 ลักซ์ แสงสว่างที่สามารถผ่านเข้ามาในอาคารจะมีค่าเพียงประมาณ 2 – 3% ของค่าความส่องสว่างที่ภายนอกอาคารเท่านั้น

เมื่อแสงสว่างธรรมชาติเข้ามาในห้องผ่านทางหน้าต่าง ช่องเปิด หรือผนังโปร่งแสง ค่าความสว่างที่บริเวณใกล้กับช่องเปิดจะมีค่าสูงกว่าบริเวณที่อยู่ลึกเข้าไป ในห้อง ผู้ออกแบบควรพยายามออกแบบให้แสงสว่างกระจายเข้าไปภายในห้องให้ได้มากที่สุด โดยอาจใช้การออกแบบส่วนของอาคารหรือใช้อุปกรณ์ที่ช่วยในการสะท้อนแสงติดตั้ง ไว้ที่ช่องแสงเพื่อสะท้อนแสงสว่างจากภายนอกขึ้นไปยังเพดาน แล้วสะท้อนเพดานเข้าไปยังส่วนที่ลึกเข้าไปของห้อง ระดับแสงสว่างที่บริเวณดังกล่าวจึงสูงขึ้นอีกเล็กน้อย ขณะเดียวกันระดับแสงสว่างที่บริเวณใกล้กับช่องแสงก็จะลดลง และที่สำคัญที่สุดคือ ช่วยลดค่าความแตกต่างของระดับความแตกต่างใน  2 บริเวณ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสบายตาแก่ผู้ใช้อาคาร

วิธีการที่ง่ายและใช้กันมากที่สุดในการออกแบบให้แสงสว่างผ่านเข้าไปที่บริเว ณด้านในของอาคารคือ การออกแบบช่องแสงให้อยู่ในระดับที่สูงบนผนังอาคาร แสงสว่างที่เข้ามาทางช่องแสงที่อยู่สูงจะสามารถผ่านเข้ามาภายในอาคารได้ดีกว่า วิธีการที่แนะนำสำหรับการออกแบบคือ การออกแบบหน้าต่างหรือช่องเปิดแบบแยกส่วน (Split Window Design)  โดยหน้าต่างที่อยู่ส่วนล่าง (Lower window) จะทำหน้าที่เป็นหน้าต่างสำหรับการมองออกไปภายนอกอาคาร เพื่อเป็นการรักษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้อาคารกับสิ่งแวดล้อมภายนอก ขณะเดียวกันก็เป็นส่วนที่ให้แสงสว่างแก่บริเวณริมด้านนอกของอาคาร (บริเวณใกล้กับหน้าต่าง) ส่วนหน้าต่างส่วนบน (Upper window) จะทำหน้าที่รับแสงสว่างธรรมชาติเพียงอย่างเดียว หิ้งสะท้อนแสงสว่างที่อยู่ระหว่างหน้าต่างทั้งสองจะช่วยสะท้อนให้แสงสว่างที ่ผ่านเข้ามาทางหน้าต่างส่วนบนนี้เข้าไปในอาคารได้ลึกยิ่งขึ้น

Image

อัตราส่วนที่เหมาะสมของพื้นที่หน้าต่างหรือผนังโปร่งแสงต่อพื้นที่ผนังอาคาร ทั้งหมด ควรอยู่ที่ประมาณ 25 – 40% สำหรับกรณีผนังโปร่งแสงเป็นกระจกใสธรรมดา (clear glass) แต่หากใช้กระจกที่มีคุณสมบัติดีขึ้น อัตราส่วนดังกล่าวก็จะเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของการส่งผ่านแสงสว่างของกระจกใสธรรมดา (ค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านของแสงสว่างมีค่าประมาณ 85%) เปรียบเทียบกับของกระจกนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ผนังโปร่งแสงที่เป็นกระจกตัดแสง (tinted glazing) มีค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านของแสงสว่างหรือค่า Light Transmission coefficient; LT เท่ากับ 40% ก็สามารถออกแบบให้อัตราส่วนของผนังโปร่งแสงต่อผนังอาคารทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็ น 2 เท่าของเมื่อใช้กระจกใสธรรมดา

ปริมาณแสงสว่างธรรมชาติทั้งหมดภายในห้อง ณ จุดที่พิจารณา ได้จากผลรวมของแสงสว่างที่ได้จากแสงสว่างโดยตรงจากด้านนอกของอาคาร (sum of direct light from outside) กับแสงสว่างที่เป็นแสงสะท้อน (redirect light) จากพื้นผิวและเครื่องเรือนเครื่องใช้ต่างๆ ภายในห้องนั้น ยิ่งในบริเวณที่ห่างจากช่องเปิดมาก สัดส่วนของแสงสว่างที่เป็นแสงสะท้อนจะมีค่าเพิ่มขึ้น ดังนั้นพื้นและผนังภายในห้องจึงควรมีสีสว่างหรือสีอ่อน (light colors) เพื่อให้สะท้อนแสงได้ดี ห้องที่มีพื้นและผนังสีเข้ม แม้ว่าปริมาณแสงสว่างที่บริเวณใกล้กับช่องเปิดอาจจะมีค่าเพียงพอ แต่ในส่วนที่ลึกเข้าไปในห้องจะมืด แสงสว่างไม่เพียงพอแก่การใช้งาน

ตารางต่อไปนี้แสดงค่าการสะท้อนแสงเพื่อการใช้งานแสงสว่างธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพของพื้นผิวส่วนต่างๆ ของอาคาร

พื้นผิว
 ค่าการสะท้อนแสง (%)
 เพดาน 80
 ผนัง 50 - 70
 พื้น 20 - 40
 เครื่องเรือน 20 - 45

ค่าการสะท้อนแสงที่แสดงในตาราง เป็นค่าเมื่อเพดานเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ผนังสีอ่อนมาก และพื้นเป็นสีอ่อนถึงเข้มปานกลาง (light to medium dark) ค่าการสะท้อนแสงของผนังและเพดานเป็นส่วนสำคัญที่ต้องพิจารณา ทั้งนี้เพราะพื้นที่ทั้ง 2 ส่วนดังกล่าว สามารถสะท้อนแสงสว่างเข้าไปภายในอาคารได้ปริมาณมาก




ที่มา : คู่มือการออกแบบอาคารที่มีประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน
จัดทำโดย : สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและส่งเสริมพลังงาน (พพ.)



?>